ผักก้านจอง (ตาลปัตรฤาษี)

ผักก้านจอง หรือ ตาลปัตรฤาษี (Limnocharis flava) หรือหรือผักพายของอิสาน มีชื่อพื้นเมืองอื่นได้แก่ บอนจีน นางกวัก หรือตาลปัตรยายชี เป็นไม้น้ำพบบริเวณนาข้าวและบริเวณที่มีน้ำขัง ลำต้นเหง้าฝังจมอยู่ในโคลนเจริญเป็นต้น บางครั้งมีไหลสั้นๆ จำนวนมาก ก้านใบยาวเป็นเหลี่ยมอวบใหญ่ ตัวใบแบนมีขนาดใหญ่เป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อมฐานใบเป็นรูปหัวใจดอกสีเหลืองออกเป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อ

ผักก้านจอง (ตาลปัตรฤาษี)
ผักก้านจอง (ตาลปัตรฤาษี)

ผักก้านจอง สามารถนำมากินได้ ทั้งต้นอ่อน ก้านใบ และดอก นอกจากจะให้รสชาติ หวานมันอร่อยแล้ว กินเป็นผักสดแกล้ม ลาบก้อย น้ำพริก และยังทำเป็น ผักสุกโดยการลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก ชาวอีสานนำผักพายมาปรุงเป็นก้อยผักตาลปัตรฤๅษี ทำให้รสชาติของผักตาลปัตรฤๅษี อร่อยมากขึ้น

ผักก้านจอง (ตาลปัตรฤาษี)
ดอกของผักก้านจอง (ตาลปัตรฤาษี)

การขยายพันธุ์ ผักก้านจองนิยมใช้การปักชำโดยแยกต้นอ่อนไปปักชำเพื่อให้แตกเป็นกอใหม่ ในบริเวณที่เตรียมไว้

ผักก้านจอง (ตาลปัตรฤาษี)
ผักก้านจอง (ตาลปัตรฤาษี) ที่ขึ้นตามธรรมชาติ

การเก็บเกี่ยว สามารถเก็บได้ทุกฤดูกาล ต้นอ่อนผักก้านจองและดอกอ่อนของผักก้านจองสามารถรับประทานเป็นผักสดกับส้มตำ ลาบก้อยน้ำพริกและยังทำเป็นผักสุกโดยการลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริกรสชาติอร่อย

ผักก้านจอง (ตาลปัตรฤาษี)
ผักก้านจอง (ตาลปัตรฤาษี)
Message us