ผักโขม (Amaranth)

ผักโขม (Amaranth) มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ ทั้งแบบปลูกเพื่อกินใบ กินเมล็ด หรือปลูกเป็นไม้ประดับ แต่ผักโขมสายพันธุ์ที่คนไทยคุ้นเคยมีอยู่ 3 ชนิด คือ ผักโขมจีน ผักโขมสวน และ ผักโขมหนาม เรานิยมนำผักโขมมาลวกจิ้มกินกับน้ำพริก ผัดกระเทียม ทำแกงจืด เป็นต้น

ผักโขม (Amaranth)
ผักโขม (Amaranth)

ผักโขม ถือเป็นพืชพื้นบ้านของไทยเราอีกตัวหนึ่ง มีอยู่หลายชนิด เช่น ผักโขมหนาม ผักโขมหิน ผักโขมหัด ผักโขมสวน ผักโขมเกลี้ยง ที่เข้ามาตีตลาดคือ ผักโขมจีน โดยผักโขมเป็นพืชที่ให้สารวิตามินเอแก่ร่างกายเช่นเดียวกับฟักทอง ผักบุ้ง พริกชี้ฟ้า มีรสขมเล็กน้อย รสชาติอร่อย

ผักโขม มักขึ้นตามแหล่งธรรมชาติ เช่น ป่าละเมาะ ชายป่ารกร้าง เป็นวัชพืชในสวนผัก สวนผลไม้ ขึ้นง่าย ขึ้นมากหน้าฝน เป็นพืชล้มลุกอายุปีเดียว ต้นสีเขียวตรง แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่คล้ายโล่ ออกแบบสลับ กว้าง 2-8 เซนติเมตร ยาว 3-10 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อสีม่วงปนเขียว ตามซอกใบและยอด เมล็ดสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ สูงราว 2 ฟุต ชอบดินที่ร่วนซุย ชุ่มชื้น ขึ้นใต้ร่มเงา ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ผักอีกชนิดที่เรามักจะเข้าใจผิดว่าเป็นผักโขมก็คือ ปวยเล้ง (Spinich) หรือที่เรียกกันว่า “ผักโขมป๊อปอาย” ในการ์ตูนเรื่องป๊อปอาย ที่นำเอาผักปวยเล้งมาบรรจุใส่ในกระป๋อง พอรับประทานแล้วมีพลัง กล้ามโตเป็นมัดๆ ซึ่งที่จริงแล้วผักตัวนี้คือ “สไปแน็ช” (Spinach) หรือผักปวยเล้ง ซึ่งเป็นผักจีนที่มีลักษณะและคุณสมบัติคล้ายคลึงกันกับผักโขมนั่นเอง

Message us